ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการติดตั้ง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจำนวนอุปกรณ์จะมีความซับซ้อนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร หรือประเภทของระบบเครือข่าย ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้
(Local Area Network : LAN) ฮาร์ดแวร์ที่ต้องใช้ ได้แก่
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer)
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ เครื่องแม่ข่าย และ เครื่องลูกข่าย
1.1 เครื่องแม่ข่าย
เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ควรเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถคำนวณหรือประมวลผลได้รวดเร็ว มีหน่วยความจำสูง ใช้เป็นศูนย์กลางการเก็บข้อมูลและประมวลผลของระบบเครือข่าย ในระบบเครือข่ายขนาดเล็กมักจะไม่มีเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์เนื่องจากมีราคาสูง แต่อาจใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเดียวกับเครื่องลูกข่ายแทน หรือไม่มีเครื่องแม่ข่ายเลยก็ได้
1.2 เครื่องลูกข่าย
เครื่องลูกข่ายหรือเครื่องไคลเอนต์ (Client) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพสูงเท่าเครื่องแม่ข่าย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.2.1 เครื่องเวิร์กสเตชัน (Workstation) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการประมวลผลด้วยตนเองสามารถทำงานได้เร็ว เพราะไม่ต้องรอรับผลจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องเวิร์กสเตชันเมื่อออกจากระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ก็ยังสามารถใช้งานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์สแตนด์อโลน แต่ค่าใช้จ่ายและการดูแลรักษา จะสูงกว่าเครือข่ายที่ใช้เครื่องเทอร์มินัล
1.2.2 เครื่องเทอร์มินัล (Terminal) เป็นเครี่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการทำงานช้า เพราะต้องรอการประมวลผลจากเครื่องแม่ข่ายเท่านั้น เครื่องเทอร์มินัล ประกอบไปด้วย จอคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และเมาส์ เพื่อใช้ในการแสดงข้อมูลและส่งข้อมูลไปยังเครื่องแม่ข่าย ทำให้ประหยัดค่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างมาก เครื่องเทอร์มินัลเมื่อออกจากเครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้แต่การดูแลรักษาระบบเครือข่ายที่ใช้เครื่องเทอร์มินัล จะง่ายกว่าระบบเครือข่ายที่ใช้เครื่องเวิร์กสเตชัน
2. แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC)
หรือนิยมเรียกกันว่า แลนการ์ด(Lan Card) ใช้สำหรับต่อสายนำสัญญาณของระบบเครือข่าย ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสารส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายได้
รูปแสดงตัวอย่าง แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ PCI
รูปแสดงตัวอย่าง แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ USB
3. สายนำสัญญาณ (Cable)
3.1 สายคู่บิดเกลียว (Twisted – Pair Cable)สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็นำสายทั้งสองมาถักกันเป็นเกลียวคู่ เพื่อช่วยลดสัญญาณรบกวนภายในสาย สายคู่บิดเกลียวมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
3.1.1 สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์ (Unshielded Twisted –Pair Cable :UTP)
3.1.2 สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted –Pair Cable :STP)
ข้อดี ราคาถูก มีน้ำหนักเบา ง่ายต่อการใช้งาน ข้อเสีย มีความเร็วจำกัด ใช้กับระยะทางสั้นๆ
3.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียลประกอบด้วยสายทองแดงจะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติก จากนั้นก็จะมีชิลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสายโคแอกเชียลที่เห็นได้ทั่วๆไป คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศโทรทัศน์ที่ใช้ตามบ้าน
ข้อดี เชื่อมต่อได้ในระยะไกล ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย มีราคาแพง สายมีขนาดใหญ่ ติดตั้งยาก
ข้อเสีย มีราคาแพง สายมีขนาดใหญ่ ติดตั้งยาก
3.3 สายไฟเบอร์ออปติค (Fiber Optic)
สายไฟเบอร์ออปติคหรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้คลื่นแสงส่งผ่านไปยังตัวกลางใยแก้ว มีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก ทำให้สามารถส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงและได้ระยะทางที่ไกลขึ้น
รูปแสดงตัวอย่าง สายไฟเบอร์ออปติคสำหรับใช้ภายในอาคาร
รูปแสดงตัวอย่าง สายไฟเบอร์ออปติคสำหรับใช้ภายนอกอาคาร
ข้อดี มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป มีขั้นตอนในการติดตั้งที่ยุ่งยากและซับซ้อน
4. ฮับ/สวิตช์ (HUB/Switch)
ฮับ กับ สวิตช์ เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน มีรูปร่างลักษณะภายนอกคล้าย ๆ กัน แต่มีความสามารถในการทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
4.1 ฮับ (HUB) มีหน้าที่ในการจัดการสัญญาณที่ส่งมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ กระจายสัญญาณต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกเครื่อง หากมีการส่งสัญญาณพร้อม ๆ กันจะทำให้ความเร็วของการส่งสัญญาณในระบบเครือข่ายลดลง ดังนั้น HUB จึงไม่เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เพราะมีปัญหาเรื่องความเร็วในการสื่อสาร
4.2 สวิตช์ (Switch) จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า Hub โดยที่อุปกรณ์ Switch จะทำงานในการ รับ-ส่งข้อมูล ที่สามารถส่งข้อมูลจากพอร์ตหนึ่งของอุปกรณ์ ไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งข้อมูลไปหาเท่านั้น ซึ่งจากหลักการทำงานในลักษณะนี้ ทำให้พอร์ตที่เหลือของอุปกรณ์ Switch ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่งข้อมูลนั้น สามารถทำการ รับ-ส่งข้อมูลกันได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ในปัจจุบันอุปกรณ์ Switch จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายมากกว่า ฮับ (Hub)
รูปแสดงตัวอย่าง สวิตช์ (Switch)
Network Interface Card (NIC) หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า แลนการ์ด (LAN Card)เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ ในการต่อกับระบบเครือข่ายปัจจุบัน LAN Card ที่นิยมจะเป็นแบบหัว RJ-45 โดยจะมีให้เลือกอยู่ 2 แบบ คือ แบบเป็นแผ่นการ์ด สำหรับเสียบเข้าช่องสลอต PCI บนเมนบอร์ด และ แบบที่ที่ฝั่งอยู่บนตัวเมนบอร์ด (Onboard LAN Card) อัตราข้อมูลที่สามารถส่งผ่านมีได้หลายระดับ เช่น 10 Mbps, 100 Mbps, 1000 Mbps
ดังนั้น Network Interface Card (NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย จะติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย
หน้าที่Network Interface Card (NIC) คือ แปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
ในอดีตการ์ดเน็ตเวิร์กจะเป็นแบบบัส ISA ซึ่งใช้เสียบลงไปบนสลอต ISA บนเครื่องคอมพิวเตอร์และต้องมานั่งเซตจั๊มเปอร์ของ IRQ. Address เพื่อไม่ให้ไปชนกับอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย
จากรูปที่ 1.1เป็นการ์ดเน็ตเวิร์กแบบบัส ISA
ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว จะเห็นว่าที่ด้านหลังมีขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4,BNC และ Au ขั้วเชื่อมต่อแบบ RJ-4 จะต้องทำงานร่วมกับกล่องฮับส่วนขั้วเชื่อมต่อแบบ BNC ไม่ต้องใช้ฮับร่วมทำงานเพราะใช้ T-Connector และTerminator (ตัวปิดหัวท้าย)แทนการ์ดเน็ตเวิร์กจะมีหลายแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสลอตบนเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ISA, PCI, PCMCIA USB Port หรือ Compact Flash
จากรูปที่ 1.2 เป็นการ์ดเน็ตเวิร์กแบบบัส PCI
PCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นระบบบัสที่ได้รับความนิยมสูงมาก ซึ่งได้เข้ามาแทนบัสแบบ ISA PCI บัสมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 133 เมกกะไบต์ต่อวินาทีนอกจากนี้ยังสามารถ กำหนดค่า IRQ,DMA, Memory Address ให้อุปกรณ์และการ์อินเทอร์เฟซอัตโนมัติ เมื่อเสียบการ์ดเน็ตเวิร์ก แบบ PCI ลงไปบนเครื่องแล้ว ส่วนมาจะมองเห็นและใช้งานได้ทันที
PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Association) เป็นการ์ดเสียบขนาดเล็ก เท่ากับบัตรเครดิตเป็นอุปกรณ์ขยายระบบให้คอมพิวเตอร์ Notebook เช่น การ์ดหน่วยความจำ แฟกซ์ โมเด็มการ์ดเน็ตเวิร์ก หรือ ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก
จากรูปที่ 1.3เป็นการ์ดเน็ตเวิร์กแบบบัส USB Port
USBPort (Universal Serial Bus)เป็นพอร์ตเชื่อมต่อแบบใหม่ที่สามารถจะนำอุปกรณ์เข้ามาเชื่อมต่อได้ จำนวนมากถึง100 กว่าตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น