IP Address คืออะไร ?


            IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร

 
      
เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126
สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ อย่างเช่น Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ

 
 ตัวอย่าง IP Address
Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx

จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte)

วิธีตรวจสอบ IP Address
1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
3.จะได้หน้าต่างสีดำ
4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address



Mechanisms of IP Address (กฏในการตั้งค่าของ IP)
IP Address in Binary = xxxxxxxx.xxxxxxxxx.xxxxxxxx.xxxxxxxx
IP Address in Decimal = W.X.Y.Z


Binary Bit Patterns (รูปแบบของ เลขฐานสองในการตั้ง IP)
- IP Address of Class A = ตำแหน่งที่ W มีค่าตั้งแต่ 1-126 มีจำนวน Network = 8 Bits; Host = 24 Bits (ตำแหน่งที่ W ในความ หมาย Binary คือ 0xxxxxxx - 01111111)
- Localhost 127.0.0.1 (Reserved for TCP/IP Testing)
- IP Address of Class B = ตำแหน่ง ที่ W มีค่าตั้งแต่ 128-191 มี จำนวน Network = 16 Bits; Host = 16 Bits (ตำแหน่ง ที่ W ในความหมาย Binary คือ 10xxxxxx - 10111111)
- IP Address of Class C = ตำแหน่งที่ W มี ค่าตั้งแต่ 192-223 มีจำนวน Network = 24 Bits; Host = 8 Bits (ตำแหน่งที่ W ใน ความหมาย Binary คือ 110xxxxx - 11011111)
- IP Address of Class D = ตำแหน่ง ที่ W มีค่าตั้งแต่ 224 (Multicast)
- IP Address of Class E = ตำแหน่ง ที่ W มีค่าตั้งแต่ 240 (Reserved for Experimental)

Private IP Address (RFC 1918)
IP Address ที่สงวนไว้ สำหรับการทำ Private IP ภายในองค์กร โดยที่หมายเลข IP
Address เหล่านี้ไม่สามารถนำ IP นี้ไปใช้ งานใน Internet ได้
Class A = 10.0.0.0 - 10.255.255.255
Class B = 172.16.0.0 - 172.31.255.255
Class C = 192.168.0.0 - 192.168.255.255
Default Subnet Masks
Class A = 255.0.0.0 หรือ 11111111.00000000.00000000.00000000
Class B = 255.255.0.0 หรือ 11111111.11111111.00000000.00000000
Class C = 255.255.255.0 หรือ 11111111.11111111.11111111.00000000

OSI MODEL คืออะไร

           
             OSI 7-Layer Reference Model (OSI Model) โดยโครงสร้างการสื่อสารข้อมูลที่กำหนดขึ้นมีคุณสมบัติดังนี้ คือ ในแต่ละชั้นของแบบการสื่อสารข้อมูลเราจะเรียกว่า Layer หรือ "ชั้น" ของแบบการสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วยชั้นย่อยๆ 7 ชั้น ในแต่ละชั้นหรือแต่ละ Layer จะเสมือนเชื่อมต่อเพื่อส่งข้อมูลอยู่กับชั้นเดียวกันในคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง แต่ในการเชื่อมกันจริงๆ นั้นจะเป็นเพียงการเชื่อมในระดับ Layer1 ซึ่งเป็นชั้นล่างสุดเท่านั้น ที่มีการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองโดยที่ Layer อื่นๆ ไม่ได้เชื่อมต่อกันจริงๆ เพียงแต่ทำงานเสมือนกับว่ามีการติดต่อรับส่งข้อมูลกับชั้นเดียวกันของคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่ง




              คุณสมบัติข้อที่สองของ OSI Model คือ แต่ละชั้นที่รับส่งข้อมูลจะมีการติดต่อรับส่งข้อมูลกับชั้นที่อยู่ติดกับตัวเองเท่านั้น จะติดต่อรับส่งข้อมูลข้ามกระโดดไปชั้นอื่นๆ ในคอมพิวเตอร์ของตัวเองไม่ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ด้านส่งข้อมูลออกไปให้ผู้รับใน Layer ที่ 7 ซึ่งอยู่ที่ด้านบนสุดของด้านส่งข้อมูลจะมีการเชื่อมต่อกับ Layer 6 เท่านั้น ในส่วน Layer 6 จะมีการเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลกับ Layer 5 และ Layer 7 เท่านั้น Layer 7 จะไม่มีการกระโดดไป Layer 4 หรือ 5 ได้ จะมีการส่งข้อมูลไล่ลำดับลงมา จากบนลงล่าง จนถึง Layer 1 แล้วเชื่อมต่อกับ Layer 1 ในด้านการรับข้อมูล ไล่ขึ้นไปจนถึง Layer 7


          ในทางปฏิบัติ OSI Model ได้แบ่งลักษณะการทำงานออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

             กลุ่มแรก ได้แก่ 4 ชั้นสื่อสารด้านบน คือ Layer ที่ 7, 6, 5 และ 4 ทำหน้าที่เชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ที่อยู่ชั้นล่างได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Application-oriented layers ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับซอฟท์แวร์เป็นหลัก โดยใน 4 ชั้นบนมักจะเป็นซอฟท์แวร์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งในโปรแกรมเดียว

             กลุ่มที่สอง จะเป็นชั้นล่าง ได้แก่ Layer ที่ 3, 2 และ 1 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลผ่านสายส่ง และควบคุมการรับส่งข้อมูล ตรวจสอบข้อผิดพลาด รวมทั้งเลือกเส้นทางในการรับส่งข้อมูล ซึ่งจะเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์เป็นหลักเรียกว่า Network-dependent layers
            ซึ่งในส่วนของ 3 ชั้นล่างสุด หรือ Layer ที่ 1, 2 และ 3 นั้น มักจะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์และโปรแกรมควบคุมฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ทำให้สามารถแยกแต่ละชั้นออกจากกันได้ง่าย และผลิตภัณฑ์ของต่างบริษัทกันในแต่ละชั้นได้อย่างไม่มีปัญหา

           OSI Model แบ่งเป็น 7 ชั้น แต่ละชั้นจะมีชื่อเรียกและหน้าที่การทำงาน ดังนี้ คือ

Layer ที่ 7 Application Layer

             Application Layer เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆ จากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่น การแปลความหมายของการกดปุ่มบนเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปีไฟล์ หรือ ดึงข้อมูลมาแสดงบนจอภาพ เป็นต้น ซึ่งการแปลคำสั่งจากผู้ใช้ส่งให้กับคอมพิวเตอร์รับไปทำงานนี้ จะต้องแปลออกมาถูกต้องตามกฏ ( Syntax) ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการก็อปปี้ไฟล์เกิดขึ้นในระบบ คำสั่งที่ใช้จะต้องสร้างไฟล์ได้ถูกต้อง มีชื่อไฟล์ยาวไม่เกินจำนวนที่ระบบปฏิบัติการนั้นกำหนดไว้ รูปแบบของชื่อไฟล์ตรงตามข้อกำหนด เป็นต้น

Layer ที่ 6 Presentation Layer

              Presentation Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในระดับชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร ข้อมูลที่รับส่งกันใน Layer ที่ 6 จะอยู่ในรูปแบบของข้อมูลชั้นสูงมีกฏ ( Syntax) บังคับแน่นอน เช่น ในการกก็อปปี้ไฟล์จะมีขั้นตอนย่อยประกอบกัน คือสร้างไฟล์ที่กำหนดขึ้นมาเสียก่อน จากนั้นจึงเปิดไฟล์ แล้วทำการรับข้อมูลจากปลายทางลงมาเก็บลงในไฟล์ที่สร้างขึ้นใหม่นี้ โดยเนื้อหาของข้อมูลที่ทำการรับส่งระหว่างกัน ก็คือคำสั่งของขั้นตอนย่อยๆข้างต้นนั่นเอง นอกจากนี้ Layer ที่ 6 ยังทำหน้าที่แปลคำสั่งที่ได้รับจาก Layer ที่ 7 ให้เป็นคำสั่งระดับปฏิบัติการส่งให้ Layer ที่ 5 ต่อไป

Layer ที่ 5 Session Layer

            Session Layer ทำหน้าที่ควบคุม "จังหวะ" ในการรับส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งสองด้าน ที่รับส่งแลกเปลี่ยนข้อมูลกันให้มีความสอดคล้องกัน ( Synchronization) และกำหนดวิธีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล เช่น อาจจะเป็นในการสลับกันส่ง ( Half Duplex) หรือการรับส่งข้อมูลพร้อมกันทั้งสองด้าน ( Full Duplex) ข้อมูลที่รับส่งใน Layer ที่ 5 จะอยู่ในรูป dialog หรือประโยคสนทนาโต้ตอบกันระหว่างด้านรับและด้านส่งข้อมูล เช่น เมื่อได้รับข้อมูลส่วนแรกจากผู้ส่ง ก็จะตอบโต้กลับให้ผู้ส่งได้รู้ว่าได้รับข้อมูลส่วนแรกแล้ว พร้อมที่จะรับข้อมูลส่วนถัดไป ซึ่งคล้ายกับการสนนาโต้ตอบกันระหว่างผู้รับและผู้ส่งนั่นเอง

Layer ที่ 4 Transport Layer

             Transport Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลระดับสูงของ Layer ที่ 5 มาเป็นข้อมูลที่รับส่งในระดับฮาร์ดแวร์ เช่น แปลงค่าหรือชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายให้เป็น network address พร้อมทั้งเป็นชั้นที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายด้านรับข้อมูล ให้ข้อมูลมีการไหลลื่นตลอดเส้นทางตามจังหวะที่ควบคุมจาก Layer ที่ 5 โดยใน Layer ที่ 4 นี้ จะเป็นรอยต่อระหว่างการรับส่งข้อมูลซอฟท์แวร์กับฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลของระดับสูงจะถูกแยกจากฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลที่ Layer ที่ 4 และจะไม่มีส่วนใดผูกติดกับฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลในระดับล่าง ดังนั้นฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่ใช้ควบคุมการรับส่งข้อมูลในระดับล่างลงไปจาก Layer ที่ 4 จึงสามารถสับเปลี่ยน และใช้ข้ามไปมากับซอฟท์แวร์รับส่งข้อมูลในระดับที่อยู่ข้างบน (ตั้งแต่ Layer ที่ 4 ขึ้นไปถึง Layer ที่ 7) ได้ง่าย หน้าที่อีกประการหนึ่งของ Layer ที่ 4 คือ การควบคุมคุณภาพการรับส่งข้อมูลให้มีมาตรฐานในระดับที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย และการตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ ให้เหมาะกับลักษณะการทำงานของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในเครือข่าย เช่น หาก Layer ที่ 5 ต้องการส่งข้อมูลที่มีความยาวเกินกว่าที่ระบบเครือข่ายที่จะส่งให้ Layer ที่ 4 ก็จะทำหน้าที่ตัดข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วส่งไปให้ผู้รับ ข้อมูลที่ได้รับปลายทางก็จะถูกนำมาต่อกันที่ Layer ที่ 4 ของด้านผู้รับ และส่งไปให้ Layer ที่ 5 ต่อไป

Layer ที่ 3 Network Layer

               Network Layer ทำหน้าที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้านรับ และด้านส่งเข้าหากันผ่านระบบเครือข่าย พร้อมทั้งเลือกหรือกำหนดเส้นทางที่จะใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน และส่งผ่านข้อมูลที่ได้รับไปยังอุปกรณ์ในเครือข่ายต่าง ๆ จนกระทั่งถึงปลายทาง ใน Layer ที่ 3 ข้อมูลที่รับส่งกันจะอยู่ในรูปแบบของกลุ่มข้อมูลที่เรียกว่า Packet หรือ Frame ข้อมูล Layer ที่ 4, 5, 6 และ 7 มองเห็นเป็นคำสั่งและ Dialog ต่าง ๆ นั้น จะถูกแปลงและผนึกรวมอยู่ในรูปของ Packet หรือ Frame ที่มีเพียงแอดเดรสของผู้รับ , ผู้ส่ง , ลำดับการรับส่ง และส่วนของข้อมูลเท่านั้น หน้าที่อีกประการหนึ่ง คือ การทำ Call Setup หรือเรียกติดต่อคอมพิวเตอร์ปลายทางก่อนการรับส่งข้อมูล และการทำ Call Cleaning หรือการยกเลิกการติดต่อคอมพิวเตอร์เมื่อการรับส่งข้อมูลจบลงแล้ว ในกรณีที่มีการรับส่งข้อมูลนั้นต้องมีการติดต่อกันก่อน

Layer ที่ 2 Data link Layer 

             Data link Layer เป็นชั้นที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ โดยเมื่อมีการสั่งให้รับข้อมูลจากใน Layer ที่ 3 ลงมา Layer ที่ 2 จะทำหน้าที่แปลคำสั่งนั้นให้เป็นคำสั่งควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูล ทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลของระดับฮาร์ดแวร์ และทำการแก้ข้อผิดพลาดที่ได้ตรวจพบ ข้อมูลที่อยู่ใน Layer ที่ 2 จะอยู่ในรูปของ Frame เช่น ถ้าฮาร์ดแวร์ที่ใช้เป็น Ethernet LAN ข้อมูลจะมีรูปร่างของ Frame ตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานของ Ethernet หากว่าฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลเป็นชนิดอื่น รูปร่างของ Frame ก็จะเปลี่ยนไปตามมาตรฐานนั้นๆ

Layer ที่ 1 Physical Layer 

              Physical Layer เป็นชั้นล่างสุด และเป็นชั้นเดียวที่มีการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างคอมพิวเตอร์สองระบบที่ทำการรับส่งข้อมูล ใน Layer ที่ 1 นี้จะมีการกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของฮาร์ดแวร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองระบบ เช่น สายที่ใช้รับส่งข้อมูลจะเป็นแบบไหน ข้อต่อที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลมีมาตรฐานอย่างไร ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่าใด สัญญาณที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลมีรูปร่างอย่างไร ข้อมูลใน Layer ที่ 1 นี้จะมองเห็นเป็นการรับส่งข้อมูลทีละบิตเรียงต่อกันไป


รูปแสดงความสัมพันธ์ของ Layer กับ Protocol ต่าง



รูปแสดงภาพรวมการติดต่อระหว่าง Computer โดยใช้ OSI 7-Layer

ผู้เขียนบล็อก



นางสาวมณีรัตน์ ทับมาลา
กำลังศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยเทคนิคพะเยา 
ระดับการศึกษา ปวช.2 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Email : maneerat15@hotmail.com
Gmail : fon.jay.park@gmail.com
Facebook : www.facebook.com/fonyippy
เบอร์โทรศัพท์ 086-193-0412


การเข้าหัว RJ-45 ตามมาตรฐาน





ตารางที่ 1 แบบ T568B Crossover


RJ-45
CABLE (CAT 5)
Pin
Symbol
Color
1
TD+ขาวส้ม
2
TD-ส้ม
3
RX+ขาวเขียว
4
Not Assignedน้ำเงิน
5
Not Assignedขาวน้ำเงิน
6
RX-เขียว
7
Not Assignedขาวน้ำตาล
8
Not Assignedน้ำตาล






ตารางที่ 2 แบบ T568A (Cross)


RJ-45
CABLE (CAT 5)
Pin
Symbol
Color
1
TD+ขาวเขียว
2
TD-เขียว
3
RX+ขาวส้ม
4
Not Assignedน้ำเงิน
5
Not Assignedขาวน้ำเงิน
6
RX-ส้ม
7
Not Assignedขาวน้ำตาล
8
Not Assignedน้ำตาล



วิธีการเข้าหัวทั้ง 2 แบบ
- การเข้าแบบธรรมดา เป็นการเชื่อมต่อแบบต่างอุปกรณ์ เช่น การใช้สายต่อกันระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ Switch หรือ HUB
Crossover Cable
RJ-45 PINRJ-45 PIN
1 Rx+1 Rc+
2 Rc-2 Rc-
3 Tx+3 Tx+
6 Tx-6 Tx-
 
 
Straight Through Cable
RJ-45 PINRJ-45 PIN
1 Tx+1 Rc+
2 Tx-2 Rc-
3 Rc+3 Tx+
6 Rc-6 Tx-




- การเข้าแบบไขว้ หรือ Cross เป็นการเข้าสายแบบ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน เช่น HUB to HUB ,Switch To Swich หรือ คอมพิวเตอร์อ กับ คอมพิวเตอร์ เราสามารถที่จะใช้ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ NoteBook


Crossover Cable
RJ-45 PINRJ-45 PIN
1 Rx+3 Tx+
2 Rc-6 Tx-
3 Tx+1 Rc+
6 Tx-2 Rc-
 
 
Straight Through Cable
RJ-45 PINRJ-45 PIN
1 Tx+1 Rc+
2 Tx-2 Rc-
3 Rc+3 Tx+
6 Rc-


1. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าหัวประกอบด้วย
    - สายสัญญาณ หรือ UTP Cable
    - หัว RJ45 (Male)
    - Modular Plug Boots หรือตัวครอบสาย
    - Wry Marker ใช้สำหรับกำหนดหมายเลขของปลายสายทั้งสองข้าง
    - คีมแค้มสายสัญญาญ (Crimping Tool)
    - มีดสำหรับปอกสายสัญญาณ

รูปที่1
รูปที่2


2. ใช้มีดปอกสายสัญญาณที่เป็นฉนวนหุ้มด้านนอกออกให้เหลือ แต่สายบิดเกลียวที่อยู่ด้านใน 8 เส้น โดยเหลือความ ยาวประมาณ 1.5 ซ.ม. (ดังรูปที่ 1) หลังจากนั้นใส่ Modular Plug Boots เข้ากับสายสัญญาณด้านที่กำลัง จะทำการเข้าหัว (ดังรูปที่ 2)



รูปที่3

รูปที่4

            3. ทำการแยกสายสัญญาณทั้ง 4 คู่ที่บิดเกลียวอยู่ออกเป็นคู่ๆ ก่อน โดยแยกตามลำดับดังนี้
ส้ม - ขาวส้ม --> เขียว - ขาวเขียว --> น้ำเงิน - ขาวน้ำเงิน --> น้ำตาล - ขาวน้ำตาล
หลังจากนั้นทำการแยกแต่ละคู่ออกเป็นเส้น โดยไล่สีตามลำดับดังนี้
ขาวส้ม --> สัม --> ขาวเขียว --> น้ำเงิน --> ขาวน้ำเงิน --> เขียว --> ขาวน้ำตาล --> น้ำตาล
เมื่อไล่สีตามลำดับแล้วทำการจัดเีรียงสีต่างๆ ให้สายแต่ละเส้นเรียงชิดๆ กัน ดังรูปที่ 4

           4. ใช้คีมตัดสายสัญญาณที่เรียงกันอยู่ให้มีปลายสายที่เรียง เท่ากันทุกเส้น โดยให้เหลือปลายสายยาวพอประมาณ จากนั้นเสียบสายเข้าไปในหัว RJ45 ที่เตรียมไว้  โดยค่อยๆ  ยัดสายที่ตัดแล้วเข้าไปให้สุดจนชนปลายของช่องว่างของหัว RJ45
          
 5. จากนั้นนำสายสัญญาณที่ได้เข้าหัวเรียบร้อย ใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของหัว RJ45 ของคีมที่ใช้แค้มหัวให้ ลงล็อกของคีมพอดี   และทำการกดย้ำสายให้แน่นเพื่อให้ Pin ที่อยู่ในหัีว RJ45   นั้นสัมผัสกับสายทองแดงที่ ใส่เข้าไป


การแชร์ไดว์ฟด้วยสาย LAN

           ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อภายในพื้นที่ระหว่างคอมพิวเตอร์หลายเครื่องโดยใช้ Windows XP หรือระบบปฏิบัติการ Vista

1. เสียบปลายด้านหนึ่งของสาย เคเบิลอีเธอร์เน็ตพอร์ต Ethernet ของ Computer1 ปลายสายอีกด้านให้เสียบที่ Ethernet พอร์ต Ethernet ของ computer2


 2. ให้เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คลิกเมนู Start ให้คลิกขวาที่ "My Computer" และเลือก "Properties" ตามรูป





3. หากคุณใช้ Windows Vista & Windows 7 : ในชื่อคอมพิวเตอร์ Computer name และการตั้งค่าโดเมน Workgroup เลือกที่ "Change Settings"


  หากคุณใช้ Windows XP : ไปที่แท็บ “Computer Name” ตามรูปด้านล่าง
 


4. คลิก “Change” และป้อนชื่อ Workgroup เป็นคำเฉพาะที่จะใช้ตั้งค่าชื่อกลุ่ม ของเครื่อข่ายที่จะใช้ร่วม
กัน


5. คลิก"OK" จากนั้นทำขั้นตอนต่าง ๆ เหมือนกันกับ คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่ต่อร่วมกัน โดยที่ ชื่อ Workgroup ในขั้นตอนที่ 4 จะต้องเหมือนกัน

6. เมื่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองจะถูกกำหนดชื่อ Workgroup เดียวกันและสายเคเบิลอีเทอร์เน็ตมีการเชื่อมต่อกันแล้วให้เรารีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง


7. หลังจากรีบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองจะตรวจสอบการตั้งค่าเวิร์กกรุ๊ปโดยอัตโนมัติและตอนนี้คุณพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนไฟล์โฟลเดอร์และเอกสารในคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่อข่าย LAN แล้วแบ่งปันไฟล์ในเครือข่าย LAN


           ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อในเครือข่าย LAN

1. คัดลอกแฟ้มหรือโฟลเดอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใดเครื่องหนึ่ง จากนั้นคลิกที่ "Network"จากเมนู Start หากคอมพิวเตอร์ของคุณเป็น Windows XP คลิกที่ “My Network places”  จากเมนู Start 

2. ในหน้าต่างเครือข่ายคุณจะเห็นไอคอนโฟลเดอร์ที่ใช้ร่วมกัน shared folder ตามรูปด้านล่าง

              
3. ตอนนี้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องของคุณแสดงในหน้าต่าง Network ดับเบิลคลิกไอคอนและเรียกดู "Shared docs> Docs" โฟลเดอร์ จากนั้นวางไฟล์ หรือ แฟ้มที่คุณคัดลอกจาก step1


4. ในการรับการเข้าถึงไฟล์นี้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ของเราทำได้โดยให้ไปที่ “My Network places” และเปิด “Shareddocs” ดังรูปด้านล่าง แล้วก็จะเห็นไฟล์ที่ได้ทำการก็อบมาจากเครื่องคอมเครื่องอื่น ในเครือข่าย
 
                                 
                                           
              ในการตั้งค่าการเชื่อมต่อเครือข่าย LAN ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่อง สามารถแลกเปลี่ยนไฟล์เอกสารและโฟลเดอร์ ได้สะดวกยิ่งขึ้น เอาไปปรับใช้ในบ้านก็ได้ เพราะทุกวันนี้แต่ละบ้าน ที่มีเครื่องคอมมากกว่าหนึ่งเครื่อง และใช้ Internet ร่วมกันก็จะต่อระบบเครื่อข่ายไว้แล้วแค่ไปตั้งค่านิดหน่อย


สัญลักษณ์เครือข่าย